- ถุงเก็บน้ำนมชิทิด้าได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อที่ได้มาตรฐาน (Pre-Sterilized)
- ถุงและสีพิมพ์สำหรับใช้บรรจุอาหารโดยเฉพาะ (Food Grade)
- มีขีดบอกปริมาณน้ำนมในถุง สามารถบรรจุน้ำนมได้ 9 ออนซ์
- นวัตกรรมซิป 3 ชั้น (Triple Zipper) ปิดแน่นสนิท
- ถุงนมดีไซน์ให้มีความกว้าง สามารถตั้งถุงนมได้
- มีแถบวัดปริมาณน้ำนม และมีที่บันทีกวันเวลา เพื่อจัดเก็บน้ำนมอย่างมีคุณภาพ
วิธีการใช้งาน
ล้างมือให้สะอาดและเช็ดมือให้แห้งทุกครั้งก่อนจับถุงนม
ฉีกแนวปากถุงตามแนวที่ปรุไว้ และเปิดซิปทั้ง 3 ชั้น
บีบน้ำนมหรือเทน้ำนมลงถุงโดยตรง
ไล่อากาศออกและรีดถุงปากซิปให้สนิท เริ่มจากซิปล่างขึ้นไปซิปบน
บันทึกชื่อ วัน เวลา และปริมาณน้ำนมที่ปากถุงทุกครั้ง
เก็บน้ำนมใส่ตู้เย็นหรือช่องแช่แข็งทันที เพื่อรักษาคุณค่าของน้ำนม
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- การเก็บน้ำนมในช่องแช่แข็งควรเทน้ำนมลงถุง 3 ใน 4 ส่วนเท่านั้น เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับการขยายตัวของน้ำนม (ไม่ควรบรรจุน้ำนมเกิน 9 ออนซ์ หรือ 250 มล.)
- ควรนำน้ำนมที่แช่ก่อนออกมาใช้ก่อน และห้ามนำน้ำนมใหม่มาผสมกับน้ำนมทีที่แช่แข็งแล้ว
- เก็บน้ำนมในแต่ละถุงให้พอดีกับน้ำนมที่ลูกน้อยทานในแต่ละมื้อ
- หากต้องการนำน้ำนมที่แช่แข็งออกมาอุ่นให้ลูกน้อย ควรนำน้ำนมมาพักไว้ในช่องเย็นปกติก่อน 1 คืน เพื่อให้ละลายและไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก
- น้ำนมที่ลูกทานไม่หมด ควรเททิ้งไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่
- หากต้องการอุ่นนมให้ลูกน้อย สามารถแช่ถุงให้น้ำอุ่น ไม่ควรใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง หรือใช้ไมโครเวฟในการอุ่นนม จะทำให้เสียคุณค่าทางอาหาร
- เมื่อน้ำนมละลายดีแล้ว ควรเขย่าถุงเพื่อให้น้ำนมเข้ากันได้ดี
- ควรบันทึก วัน เวลา และปริมาณน้ำนมที่ปากถุงทุกครั้ง
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการทำสต็อกน้ำนม
- ฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ควรฝึกลูกน้อยให้ดูดน้ำนมจากเต้าให้ได้มากและบ่อยครั้งที่สุด
- ช่วงแรกหลังคลอด โอบกอดลูกน้อยให้ลูกดูดนมแม่จากเต้า เพื่อให้ได้รับไออุ่นจากแม่ และกระตุ้นน้ำนมให้ออกมาเร็วยิ่งขึ้น
- ใช้เครื่องปั๊มนมทุก 2-3 ชั่วโมง ทั้งกลางวันและกลางคืนตั้งแต่เริ่มแรกคลอด เพื่อกระตุ้นและเพิ่มปริมาณน้ำนม หากคุณแม่ปั๊๋มนมไม่ต่อเนื่องหรือไม่มีการนำน้ำนมออกจากเต้าจะส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดน้อยลงได้
- ควรดื่มน้ำปริมาณมาก และควรจิบน้ำตลอดทั้งวัน
- หากเต้านมคัดตึง คุณแม่สามารถนำผ้าขนหนูสะอาดชุบน้ำอุ่นจัดและนวดประคบบริเวณรอบเต้านม ก่อนให้ลูกน้อยเข้าเต้าหรือก่อนการปั๊มนม
- รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและทานอาหารบำรุงน้ำนมอย่างต่อเนื่อง
การเก็บรักษาน้ำนม
เมื่อปั๊มนมออกมาจากเต้านมแล้ว ห้ามวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อน หากยังไม่ได้ให้นมที่ปั๊มออกมาแกทารกทันที ควรนำน้ำนมแช่ตู้เย็นโดยสามารถเก็บน้ำนมในตู้เย็นดังนี้
อุณหภูมิ | ระยะเวลาการเก็บ |
อุณหภูมิห้อง (16-26° C) | 4-8 ชั่วโมง |
อุณหภูมิห้อง (27-30° C) | 3-4 ชั่วโมง |
กระติกใส่น้ำแข็ง (15° C) | 24 ชั่วโมง |
ตู้เย็นช่องธรรมดา (0-4° C) | 2-3 วัน |
ช่องแช่แข็ง (ตู้เย็นประตูเดียว) | 2 สัปดาห์ |
ช่องแช่แข็ง (ตู้เย็น 2 ประตู) | 3-6 เดือน |
ช่องแช่แข็งเย็นจัด (-19° C) | 6-12 เดือน |